ไลบารี่สำหรับการจัดการ การตั้งค่าต่างๆ ผ่านหน้าเว็บโดยใช้คำสั่งสำเร็จรูป หน้าเว็บรองรับ Responsive ทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายในทุกอุปกรณ์ ทุกขนาดหน้าจอ อีกทั้งยังรองรับการรีเซ็ตการตั้งค่าทั้งผ่านหน้าเว็บ หรือผ่านการกดปุ่มบนอุปกรณ์ มีระบบล็อกอินก่อนเข้าหน้าการตั้งค่า
หน้าจอสมาร์ทโฟน
หน้าจอคอมพิวเตอร์
- ดาว์โหลดไฟล์ไลบารี่ที่ https://github.com/ioxhop/easyConfig/releases/download/1.3.0/easyConfig.zip
- เปิดโปรแกรม Arduino IDE ขึ้นมา จากนั้นกดไปที่ Sketch > Include Library > Add .ZIP Library...
- เลือกไฟล์ที่ได้ดาว์โหลดไว้
- เสร็จสิ้นการติดตั้ง
- เปิดตัวอย่าง Basic แล้วอัพโหลดเข้า ESP8266
- ใช้อุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ WiFi ได้ เชื่อมต่อเข้าไปที่ WiFi ชื่อ ESP_easyConfig
- ใส่รหัสเป็น 123456
- จะพบหน้าจอคอนฟิก ทดลองเปลี่ยนการตั้งค่าต่างๆ แล้วกดปุ่ม Save
- ESP8266 จะจำค่าที่กรอกไว้ แล้วรีเซ็ตตัวเอง รอประมาณ 5 - 30 วินาที แล้วเชื่อมต่อ WiFi ไปที่ ESP8266 ใหม่อีกครั้ง ถึงจะกลับมาเข้าหน้าคอนฟิกได้
- หากกรอกให้เชื่อมต่อกับ AP ไว้ เมื่อเชื่อมต่อได้สำเร็จ หลอดไฟแสดงสถานะ LED บนตัวโมดูล ESP8266 จะติดสว่างค้าง (รองรับโมดูล 12E และ 12F กรณีรุ่นอื่นๆต้องแก้โค้ดไลบารี่) ขณะกำลังเชื่อมต่อจะกระพริบทุกๆ 100mS
ใช้สำหรับแก้ค่าดีฟอลต่างๆ
ค่าพารามิเตอร์
String key - ชื่อคีย์ของค่าดีฟอลที่ต้อการแก้ ซึ่งเป็นไปได้ดังนี้
- ssid - แก้ค่าดีฟอลชื่อผู้ใช้ของ AP ที่ต้องการให้โมดูลไปเชื่อมต่อด้วย ปกติแล้วจะมีค่าเป็น ssid[0] = 0
- password - แก้ค่าดีฟอลรหัสผ่านของ AP ที่ต้องการให้โมดูลไปเชื่อมต่อด้วย ปกติแล้วจะมีค่าเป็น password[0] = 0
- name - แก้ค่าดีฟอลของชื่ออุปกรณ์ ซึ่งจะถูกนำอ้างอิงเป็น ssid ในโหมด AP ปกติแล้วจะมีค่าเป็น ESP_easyConfig
- auth-password - แก้ค่าดีฟอลของรหัสผ่านที่ใช้ล็อกอินเข้าหน้าคอนฟิกบนหน้าเว็บเพจ ปกติแล้วจะมีค่าเป็น 123456 (เวอร์ชั่น 1.2)
String val - ค่าที่ต้องการจะแก้ สูงสุด 20 ตัวอักษร
ใช้สำหรับแก้ค่าดีฟอลต่างๆ
ค่าพารามิเตอร์
String key - ชื่อคีย์ของค่าคอนฟิกที่ต้องการอ่าน ซึ่งเป็นไปได้ดังนี้
- ssid - อ่านค่าชื่อ WiFi ที่ผู้ใช้ได้ตั้งไว้เพื่อให้ไปเชื่อมต่อ หรือหากยังไม่ได้ตั้ง จะให้เป็นค่าดีฟอล
- password - อ่านค่ารหัส WiFi ที่ผู้ใช้ได้ตั้งไว้เพื่อให้ไปเชื่อมต่อ
- name - อ่านค่าชื่ออุปกรณ์ (ssid) ที่ผู้ใช้ได้ตั้งไว้
- auth-password - อ่านค่ารหัสผ่านที่ใช้ล็อกอินเข้าคอนฟิก
ใช้เปิดการใช้งานรับค่าคอนฟิกระบบคราว์ดสำหรับนำไปใช้ในการเชื่อมต่อ
ค่าพารามิเตอร์
String name - ชื่อระบบคาว์ด ซึ่งเป็นไปได้ดังนี้
- netpie - กรณีใช้บริการรับ - ส่งข้อมูลผ่าน NETPIE
- mqtt - กรณีใช้บริการรับ - ส่งข้อมูลผ่าน MQTT
ใช้เซ็ตค่าของโหมดการเชื่อมต่อ
ค่าพารามิเตอร์
WiFiMode mode - มีค่าที่เป็นได้ได้ดังนี้
- WIFI_AP - ใช้โหมดเป็น AP ให้อุปกรณ์อื่นเข้ามาเชื่อมต่อ
- WIFI_STA - ใช้โหมด STA ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น (ไม่แนะนำ)
- WIFI_AP_STA - ใช้โหมด AP และ STA พร้อมกัน สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น หรือให้อุปกรณ์อื่นเข้ามาเชื่อมต่อ (เป็นค่าดีฟอล)
ใช้เช็คว่าตอนนี้ได้เชื่อมต่อกับ AP อยู่หรือไม่
การตอบกลับ
ให้ค่า true หากเชื่อมต่ออยู่ และให้ค่า false หากไม่ได้เชื่อมต่ออยู่
ใช้ล้างการตั้งค่าที่ได้ตั้งไว้
ค่าพารามิเตอร์
bool reboot - หากเป็น true จะรีเซ็ตตัวเองเมื่อล้างการตั้งค่าแล้ว (แนะนำ)
ใช้กำหนดขาที่เชื่อมต่อกับปุ่มล้างการตั้งค่า
ค่าพารามิเตอร์
int pin - กำหนดขา GPIO ที่เชื่อมต่อกับปุ่มอยู่
bool activeHigh - (ไม่จำเป็น) ใช้กำหนดว่าปุ่มต่อวงจรแบบ pullUp หรือ pullDown
ข้อกำหนด
เมื่อใช้คำสั่งนี้กำหนดปุ่มแล้ว การล้างการตั้งค่าจะต้องกดปุ่มค้างไว้ 5 วินาที จึงจะล้างการตั้งค่าให้ และทำงานแบบ Multitasking คือไม่มีการหยุดโปรแกรมเพื่อรอปล่อยปุ่ม
ใช้เริ่มใช้งานไลบารี่ easyConfig
ค่าพารามิเตอร์
bool runWebServer - กำหนดว่าให้ต้องการรันคำสั่ง server.begin() ด้วยเลยหรือไม่ (แนะนำ true)
ฟังก์ชั่นนี้จะต้องอยู่ใน void loop() เพื่อให้ web service สามารถทำงานได้
ผู้จัดทำอนุญาตให้ใช้งานได้ในเชิงพาณีชย์ แต่ไม่อนุญาตให้คัดลอกผลงานนี้ไปอัพโหลดใหม่ หรือนำไปหารายได้โดยตรง (เช่น การคัดลอกโค้ดทั้งหมดไปขาย)